รวมบทความ และข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการและบริการสำหรับประชาชนที่ทุกคนอยากรู้ เช่น ประกันสังคม สิทธิการรักษา สวัสดิการความช่วยเหลือ และอื่น ๆ ในเว็บเดียว
ใครสามารถสมัคร ม.39 ได้บ้าง ผู้ที่สามารถสมัครประกันสัง ม.39 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 ซึ่งส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม วิธีสมัครประกันสังคม ม.39 การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม.39 นั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติครบสามารถสมัครด้วยตัวเองได้ 2 ช่องทาง
https://portal.co.thจ่ายเงินสมทบไว้ ได้ความคุ้มครองชัวร์ ผู้ประกันตน ม.39 จะได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาททุกเดือน ซึ่งคำนวณจากฐานเงินเดือน 4,800 บาทเท่ากันทุกคน และมีอัตราการคำนวณเงินสมทบอยู่ที่ 9 % วิธีคำนวณ เงินสมบทประกันสังคม ม.39 ฐานเงินเดือน x อัตราเงินสมทบ (9%) = เงินสมทบที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ตัวอย่าง ฐานเงินเดือน (4,800) x อัตราเงินสมทบ (9%) = 432 บาท โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเลยกำหนดจะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 2% ต่อเดือน รวมเงินที่ต้องจ่ายเป็น 440.64 บาท หากจ่ายล่าช้า ความคุ้มครอง 6 กรณี ผู้ประกันตน ม. 39 ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน จะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ความความคุ้มครองจะเหมือนกับประกันสังคม ม. 33 ทุกอย่าง ยกเว้น กรณีว่างงานที่จะไม่ได้รับสิทธิ
https://www.portal.co.thสิทธิของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของผู้ประกันตน จะสิ้นสุดลงในกรณี ต่อไปนี้ เสียชีวิต กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ลาออกจากการเป็นผู้้ประกันตน ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (กรณีนี้พบได้บ่อย) ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (สิทธิจะสิ้นสุดลงในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน) หากมีเหตุให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ม.39 สามารถขอคืนสิทธิได้โดยติดต่อสำนักงานประกันสังคมในช่องทางที่สะดวก เพื่อขอเช็กสิทธิและสอบถามรายละเอียดในการขอคืนสิทธิได้